บทบาทหน้าที่ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี
มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่การให้บริการตามที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด เกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนา การบริการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาชุมชน งานฝึกอบรมและให้บริการด้านการฝึกอบรม งานสนับสนุนการจัดการความรู้ งานพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการเฉพาะทาง และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เขตพื้นที่การให้บริการ ตามประกาศกรมการพัฒนาชุมชน เรื่อง การแบ่งเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 กำหนดให้ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี รับผิดชอบให้บริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย
1.จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 13 อำเภอ
2. จังหวัดนครปฐม จำนวน 7 อำเภอ
3. จัดหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 8 อำเภอ
4. จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 8 อำเภอ
5. จังหวัดราชบุรี จำนวน 10 อำเภอ
6. จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 3 อำเภอ
7. จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 3 อำเภอ
พันธกิจ
1. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรของกรมฯให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ
2. ศึกษา วิจัยและพัฒนางานพัฒนาชุมชน
3. ให้บริการประชาชน ผู้นำชุมชน และหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศด้านการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
4. ส่งเสริมและพัฒนา การจัดการความรู้ในการพัฒนาชุมชน
5. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในงานพัฒนาชุมชนในระดับพื้นที่
6. พัฒนาการบริหารจัดการสถาบันฯ ตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ (Goal)
1. บุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชน สามารถส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างมืออาชีพ
2. ผู้นำชุมชน สามารถบริหารจัดการชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลงานวิจัย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์และภูมิสังคม
4. ภาคีและเครือข่ายการพัฒนาชุมชน สามารถนำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
1. การพัฒนาบุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนที่มีคุณภาพและคุณธรรม สามารถเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
2. การพัฒนางานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3. การจัดการความรู้
4. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
5. การพัฒนาองค์กร
6. การพัฒนามาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาบุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนที่มีคุณภาพและคุณธรรม สามารถเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
เป้าประสงค์
1. พัฒนาบุคลากรทักษะวิชาชีพโดดเด่น มีสมรรถนะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ
2. พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำงาน หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3. พัฒนาบุคลากรให้มีภาวะผู้นำและทักษะทางสังคม
4. พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม
5. พัฒนาบุคลากรให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ (Strategy)
1. พัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่น
2. พัฒนาระบบและวิธีการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล
3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของนักทรัพยากรบุคคลด้วยวิธีการหรือเครื่องมือที่หลากหลาย
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 การพัฒนางานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
เป้าประสงค์
1. สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากร ทำการวิจัยด้านการพัฒนาชุมชน
2. นำผลงานไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนและสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
กลยุทธ์ (Strategy)
1. จัดทำแผนแม่บทด้านการวิจัยของกรมการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม
2. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัย รวมถึงการเผยแพร่สู่ระดับประเทศ และระดับสากลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
4. พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านงานวิจัยเพื่อการบริหาร และการบริการ
5.) พัฒนาความร่วมมือด้านงานวิจัย ระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 การจัดการความรู้
เป้าประสงค์
1. สถาบันการพัฒนาชุมชนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการองค์ความรู้ทั่วทั้งองค์กร โดยการพัฒนากลไกการบริหารองค์ความรู้ เเละสนับสนุนการเรียนรู้
พัฒนาบุคลากรต้นแบบด้านการจัดการความรู้ สร้างเครือข่ายนักจัดการความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน
2. พัฒนาคลังความรู้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การพัฒนาชุมชน
3.ผู้รับบริการและบุคลากรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และนำสู่การพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
กลยุทธ์ (Strategy)
1. พัฒนาระบบการจัดการความรู้
2. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการจัดการความรู้
3. แสวงหาเเละพัฒนา องค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน
4. พัฒนาเเละส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากคลังความรู้การพัฒนาชุมชน (Excellence Center)
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์
1. ให้บริการทางวิชาการด้านพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานต่างๆ
2. สร้างความสัมพันธ์อันดี และเป็นที่พึ่งทางวิชาการของชุมชนและสังคม
3. พัฒนาผู้นำชุมชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและชุมชนอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ (Strategy)
1. สร้างระบบการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
2. พัฒนาการให้บริการทางวิชาการด้วยการพัฒนาหลักสูตรและดำเนินการฝึกอบรมที่มีคุณภาพ
3. พัฒนาการให้บริการทางวิชาการด้วยการบริหารจัดการที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
(Visited 1 times, 1 visits today)